Nivo Slider Demo
 
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์และพันธ์กิจ
บทความเกี่ยวกับแปรงถ่าน
สินค้า
วิธีการชำระเงิน
ติดต่อเรา
 
  • 1 Slip Ring (สลิปริง)
  • 2 Commutator (คอมมิวเตเตอร์)
  • 3 Brush Holder (ซองแปรงถ่าน)
  • 4 Spring (สปริงกดแปรงถ่าน)
  • 5 Carbon Brush (แปรงถ่าน)
  • 6 Copper Brush (แปรงถ่านทองแดง)
  • 7 Silver Brush (ถ่านเงิน)
  • 8 Carbon Vane (ใบถ่านปั้มลม)
  • 9 Carbon Bearings (คาร์บอนแบริ่ง)
  • 10 Carbon Seals (คาร์บอนซีล)
  • 11 Graphite (กราไฟต์)
  • 12 E.D.M Graphite (อี.ดี.เอ็ม.กราไฟต์)
  • 13 Other อื่นๆ
  •  

    บทความเกี่ยวกับแปรงถ่าน

    แปรงถ่าน (Carbon Brush) คือตัวสัมผัสกับคอมมิวเตเตอร์ หรือเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้าบน Commutator หรือ SlipRing แปรงถ่านทำหน้าที่รับแรงดันไฟตรง จากแหล่งจ่าย และจ่ายผ่านไปยัง Commutator หรือ SlipRing เพื่อใช้ในการต่อวงจร

    ชนิดของแปรงถ่าน สามารถแบ่งตามประเภทได้ดังนี้

    หลักๆมี 5 ชนิด (แต่ขนาดของมันมีมากทั้งเล็กและใหญ่ ขึ้นอยู่กับขนาดของ เครื่องจักร)

    1. Metal graphite ทำจากกราไฟต์ซึ่งมีส่วนผสมของทองแดง แปรงถ่านประเภทนี้สามารถที่จะรับกระแสต่อตารางนิ้วได้มากว่าประเภทอื่น (70-160 แอมป์/ต.ร.นิ้ว) (ขึ้นอยู่กับทองแดงที่ผสมอยู่ว่ามีมากน้อยเพียงใด) และเหมาะกับงานประเภท Slip Ring และ Commutator
    2. Carbon graphite ทำจาก Petroleum Coke มี Graphite ผสมอยู่ด้วย สำหรับแปรงถ่านประเภทนี้มีคุณสมบัติที่ลื่น มันจึงเหมาะกับงานประเภท Commutator หรือ Generator
    3. Natural graphite ทำจาก Graphite ธรรมชาติ มีคุณสมบัติที่อ่อนและลื่น จึงเหมาะกับงาน เครื่องจักร Slip Ring ที่มีความเร็วรอบสูงๆ ครับ
    4. Resin Bonded graphite ทำจากผง Graphite มี Resin เป็นตัวประสานให้ผง Graphite เกาะกันแน่นยิ่งขึ้น คุณสมบัติของแปรงถ่านชนิดนี้ มีค่าความต้านทานทางไฟฟ้าสูงมาก รับกระแสไฟฟ้าได้ไม่เกิน (70 แอมป์/ต.ร.นิ้ว)
    5. Electrographite แปรงถ่านชนิดนี้ ทำมาจาก Petroleum Coke ซึ่งจะผ่านการเผาด้วยเตาไฟฟ้า เผาจนสารเปลี่ยนสถานะเปลี่ยนรูปเป็น Graphite มันจึงมีคุณสมบัติในการหล่อลื่นที่ดีลดแรงเสียดทานได้ดี ประมาณ (70-90/140 แอมป์/ต.ร.นิ้ว) และมีการ Cooling ( การระบายความร้อน ) ที่ดีมาก มันจึงลดการสึกกร่อนของ Commutator และ Slip Ring ได้เป็นอย่างดี

    การแบ่งประเภทต่างๆของแปรงถ่านกับการใช้งาน

    1. Industrial Brush
    2. Automotive Starter Brush
    3. Automotive Alternator Brush
    4. Powertool & Home Appliance Carbon Brush
    5. Graphite Products ( graphite bushings,ring bearings )

    แปรงถ่านทั่วไปมาดัดแปลงใช้กับเครื่องจักร

    มีครับ เพราะวิศวกร ได้ออกแบบเครื่องจักรมา เขาจะต้องคำนึงถึงค่า Losses ( ค่าการสูญเสีย ) หรือค่าความต้านทานของแปรงถ่าน เครื่องจักรเอาไว้แล้วครับ และแปรงถ่านก็คือ หนึ่งในตัวแปรที่ทำให้เกิด Losses และอีกอย่าง แปรงถ่านแต่ละชนิด มันก็ทำให้เกิด Losses หรือค่าความต้านทานไม่เท่ากัน ทั้งการสึกกร่อนของแปรงถ่าน ก็ไม่เหมือนกัน

    การเลือกเกรดของแปรงถ่าน

    ควรจะเลือกใช้เกรดเดิมที่ติดมากับตัวมอเตอร์ แต่บางครั้งการที่เราต้องใช้แปรงถ่าน เกรดเดิมตามผู้ผลิตก็ไม่ดีนัก เนื่องจากปกติผู้ผลิตจะออกแบบ แปรงถ่านให้ใช้งานที่สภาวะ full load ซึ่งแตกต่างกับใช้งานจริง ไม่มีใครใช้งาน full load ตลอดเวลาครับ อย่างเก่งก็ 50-80% และมอเตอร์แต่ละตัวจะออกแบบ ให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อมของงานแต่ละประเภท เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเคมีฯลฯ ถ้าไม่มีเหตุจำเป็นไม่ควรเปลี่ยนเกรด

    เมื่อใส่แปรงถ่านชุดใหม่ต้องขัดหน้าแปรงถ่าน ให้ได้เกือบ 100% ( แต่ปกติทางผู้ผลิตจะทำ Rให้กับลูกค้าอยู่แล้วตามตัวอย่าง หรือตามแบบของลูกค้า ) และเป็นการเพิ่มการจับหน้าสัมผัสให้ต่อเนื่อง และเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมรับภาระโหลดหนักๆ ได้เพราะเวลามอเตอร์หมุนเร็วๆ หน้าแปรงถ่านจะสัมผัสคอมมิวน้อยมาก เพราะเกิดการยกตัวของแปรงถ่านกับ คอมมิวเตเตอร์ หรือ สลิปริง

    การดูแลแปรงถ่าน

    ทำความสะอาดทุกๆ 3 เดือน โดยการใช้เครื่องเป่าฝุ่นในซองของแปรงถ่านและภายในตัวมอเตอร์ให้สะอาด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมการใช้งานต่างๆ อีกด้วยครับ จะสามารถดูแลแปรงถ่านได้ง่าย และเลือกเกรดแปรงถ่านได้ถูกต้อง คอมมิวเตเตอร์ หรือ สลิปริง จะได้ไม่มีปัญหาครับ

    สิ่งที่ต้องทำหลังจาก 1,500 ชม. หรือประมาณ 3 เดือน

    1. ทำความสะอาดภายใน มอเตอร์ ด้วยเครื่องดูดฝุ่นพร้อมกับการเช็ดถูสิ่งสกปกออก
    2. ตรวจดูจุดต่อสายไฟ รวมทั้งสายไฟของแปรงถ่าน ว่าขาดหรือเปลี่ยนสีหรือไม่
    3. แปรงถ่านสึกหรอผิดปกติหรือไม่ การเคลื่อนขึ้นลงของแปรงถ่านสะดวกหรือไม่
    4. ดูความเรียบร้อยของแปรงถ่าน และ คอมมิวเตเตอร์ หรือ สลิปริง
    5. ดูความเรียบร้อยของสปริงกดแปรงถ่าน ว่าแรงกดยังใช้ได้อยู่หรือไม่ โดยปกติจะใช้เครื่องวัดแรงกดสปริง
    สปริงเสีย สังเกตโดยสายตา หรือใช้มือวัดความรู้สึกในเบื้องต้น สปริงได้รับความร้อนนานๆ จะเป็นสีเป็นฝ้าหรือสีเหลือง (จากเดิมเป็นสีเงาสแตนเลส)
    สปริงที่ได้รับความร้อน สาเหตุหลักมาจาก กระแสไฟวิ่งผ่านสปริงลงแปรงถ่านนาน สปริงจะร้อนเหมือนฟิวส์ รวมถึงหน้าคอมมิวสึกเบี้ยวมากทำให้ สปริงอ่อนล้าได้ฯลฯ

    การวัดแรงกดสปริง

    ใช้ Load Cell Spring Tester หรือ แบบตราชั่งดิจิตอลก็ได้ครับ เพราะสะดวกและรวดเร็ว

    การตั้งซองของแปรงถ่าน

    ปกติระยะความห่างนั้นกำหนดไว้ประมาณ 5 mm. จากหน้าคอมมิวเตอร์ มีความจำเป็นต้องเช็คทุกครั้งที่มีการซ่อมบำรุง

    การสึกหรอของแปรงถ่าน

    มีหลายสาเหตุมากครับ
    1. ความผิดปกติของ Commutator
    2. ความผิดปกติของ ชุดซองถ่าน (สปริง+ซองถ่าน+แปรงถ่าน)
    3. การตั้งแนวแปรงถ่าน (Neutral Line มีการ Spark รวม )
    4. สภาพแวดล้อมของ Motor (ลม ฝุ่น น้ำมัน+จารบี ตัววัตถุดิบของโรงงาน)
    5. ความสั่นสะเทือนของมอเตอร์ และ load ต่างๆ
    6. ส่วนการวัดสปริงกดถ่านใช้การวัดค่าkโดยตราชั่งได้
    7. ปัญหามาจากสปริงค่อนข้างน้อยครับ

    8. **ควรจะวิเคราะห์ทีละปัญหาโดยดูจากลักษณะการสึกของถ่านแต่ละซอง**

    ลองตรวจสอบดังต่อไปนี้

    1. ถ้าใน Brush Arm เดียวกันมีการสึกที่ไม่เท่ากัน ปัญหาน่าจะเกิดจากสปริงกดถ่าน
    2. ถ้าใน Brush Arm เดียวกันสึกเท่ากัน แตกต่างจาก Brush Arm อื่น ปัญหาน่าจะเกิดจากโรเตอร์ไม่ได้ศูนย์กลาง / **เช็คศูนย์และแก้ไข**
    3. กระแสที่ไหลผ่าน แต่ละ Brush Arm ไม่เท่ากัน /เช็คกระแสและความต้านทานรอยต่อของขดลวดโดยเฉพาะสายที่ชอร์ต ระหว่างขั้วเดียวกัน ( Equalizer Cable )

    ปัจจัยที่ส่งผลต่อแปรงถ่าน และ Commutator

    1. การ Sparking
    2. ซองแปรงถ่าน
    3. แปรงถ่านติดในซองถ่าน
    4. ก้านกดหัวแปรงถ่านติดขัด
    5. การสึกหรอของแปรงถ่าน
    6. หน้า Commutator ที่มักเปื้อนคราบน้ำมัน
    7. หน้าสัมผัสแปรงถ่านเป็นรอยขีดข่วน
    8. ไมก้าโผล่
    9. การสั่นสะเทือน

    SPARKING

    ประกายไฟที่เกิดขึ้นบางครั้ง ก็มาจากหน้าแปรงถ่านไม่สัมผัสหน้า Comutater ถ้าแปรงถ่านสัมผัสหน้า Comutater ตลอดเวลา มันก็สามารถรับ Load เพิ่มขึ้นได้ โดยไม่เกิดการสปาร์ค หรือไม่เกิดขึ้นเลย

    การสปาร์คจะเพิ่มจากจุดเล็กๆ มีหลายระดับ จะบอกถึงอันตราย ที่เกิดขึ้นกับ Motor เป็นลำดับ ถ้ามีการเกิดประกายไฟ เป็นจุดสีสม 3-4 จุด ถือ เป็นระดับไม่รุนแรง แต่ถ้าเกิดเต็มหน้าตัดแปรงถ่าน และถ้าระดับสีของประกายไฟเปลี่ยนเป็นสีขาว และเขียวแล้ว แสดงว่าต้องหยุดเพื่อซ่อมแซมหน้า Commutator บางครั้ง Convertor หรือทรานซิสเตอร์ ไดโอด และอุปกรณ์ Supply ต่างๆก็ก่อปัญหาประกายไฟที่แปรงถ่านได้

    ***ปัญหาส่วนหนึ่งที่ทำให้ เกิดการสปาร์ค ก็มีสาเหตุมาจาก แปรงถ่าน***

    วิธีที่จะสังเกตว่าแปรงถ่านมีการใช้งานผิดปกติหรือไม่ดูได้จาก

    1. การสปาร์ค ที่เกิดขึ้นบริเวณหน้าแปรงถ่านกับ หน้าคอมมิว มีการรสปาร์คหรือไม่ ปัญหาส่วนหนึ่งที่ทำให้ เกิดการสปาร์ค ก็มีสาเหตุมาจาก แปรงถ่าน
    2. ถ้าไม่เกิดการสปาร์ค แปรงถ่านมีการสึกเร็วกว่าปกติหรือไม่ และถ้าสึกเร็วกว่าปกติ ต้องมีสิ่งผิดปกติ เกิดขึ้นอาจจะเป็นที่
      2.1 แปรงถ่าน
      2.2 หน้าคอมมิว
      2.3 กระแสไฟสูงเกินก็มีผลให้แปรงถ่านมีการสึกเร็วกว่าปกติได้ครับ

    ***หรือส่งรายละเอียด มาได้ครับ เช่น มอเตอร์ รุ่น ยี่ห้อ ขนาด อายุการใช้งาน ปัญหา ที่พบ และ รุ่นของแปรงถ่านที่ใช้อยู่ รูปถ่ายแปรงถ่าน การสึกของแปรงถ่าน บนหน้าคอมมิวเป็นต้น**